ธนาคารออมสิน เปิดให้กู้สินเชื่อ MyMo – My Credit ผ่านแอป ไม่ต้องใช้เอกสาร ดอกเบี้ยต่ำ 1.25%สำหรับ สินเชื่อ MyMo – My Credit ผ่านแอป ไม่ต้องใช้เอกสาร ดอกเบี้ยต่ำ 1.25% ล่าสุด นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยถึง สินเชื่อ MyMo – My Credit ผ่านแอป ไม่ต้องใช้เอกสาร ดอกเบี้ยต่ำ 1.25% ว่า ปัจจุบันคนฐานรากยังขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบที่มีต้นทุนต่ำ จึงทำให้ต้องหันไปพึ่งการกู้นอกระบบ กลายเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ฝังรากลึกในสังคมไทย ธนาคารออมสินได้เดินหน้าทำธุรกิจบนหลักการเพื่อช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการเงินมาอย่างต่อเนื่อง
โดยล่าสุดธนาคารเตรียมเปิดให้บริการสินเชื่อ MyMo – My Credit
- กลุ่มผู้มีรายได้น้อย
- ทั้งที่เป็นแรงงานนอกระบบ
- และมนุษย์เงินเดือน
คาดมีผู้ใช้บริการกว่า 100,000 ราย
- ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเงินกู้นอกระบบ และอนุมัติเร็วผ่านแอป ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อจำเป็นต้องใช้เงินเร่งด่วนได้
- โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการกว่า 100,000 ราย
- ด้วยวงเงินปล่อยกู้ในช่วงเริ่มต้นประมาณ 1,000 – 2,000 ล้านบาท และจะขยายต่อไป
แอปฯ My Mo
สินเชื่อ MyMo MyCredit ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
สินเชื่อ MyMo MyCredit มีจุดเด่นคือ
- ลูกค้าธนาคารออมสินสามารถยื่นสมัครขอสินเชื่อผ่านแอป MyMo ได้โดยไม่ต้องใช้เอกสารใด ๆ และไม่ต้องใช้หลักประกันในการกู้
- เพียงกรอกเลขที่และข้อมูลบัตรประชาชน
- และธนาคารไม่คิดค่าธรรมเนียมการให้บริการสินเชื่อ
- โดยธนาคารจะใช้ข้อมูลการทำธุรกรรมการเงินของลูกค้า (Financial Transaction) มาประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ แทนการวิเคราะห์รายได้ เรียกว่า Alternative Credit Score
- ซึ่งหากลูกค้าผ่านเกณฑ์การพิจารณาก็จะสามารถสร้างเครดิตทางการเงินที่ดีให้กับตัวเอง ที่เรียกว่า My Credit โดยลูกค้าสามารถทำสัญญาเงินกู้บนแอป MyMo และรับเงินโอนเข้าบัญชีโดยตรง
- จากนั้นการจ่ายเงินงวดทำได้โดยธนาคารจะหักจากบัญชีเงินฝากเมื่อครบกำหนดชำระในแต่ละงวดโดยอัตโนมัติ เป็นการอนุมัติสินเชื่อผ่านแอป (Digital Lending)
- ตลอดทั้งกระบวนการ โดยลูกค้าไม่ต้องไปติดต่อธนาคาร
- ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถขอกู้ได้รายละ 10,000 – 30,000 บาท
- ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 2 ปี อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 1.25% ต่อเดือน
นอกจากนี้ ธนาคารยังมีแผนเตรียมตั้งบริษัทลูกเพื่อเข้าทำธุรกิจ Non Bank เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการปล่อยสินเชื่อเร่งด่วนสำหรับลูกค้าบุคคล ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าธุรกิจ Non Bank รายอื่น เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินด้วยต้นทุนที่เป็นธรรม โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมยื่นขอใบอนุญาตทำธุรกิจ Non Bank กับธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ราวปลายปี 2566.
แอปฯ ดูดเงินคืออะไร อันตรายแค่ไหน
แอปฯ ดูดเงินส่วนใหญ่มักจะเป็นแอปฯ ที่แฝงมัลแวร์ไว้ โดยมิจฉาชีพจะส่งลิงก์ดาวน์โหลดและติดตั้งแอปฯ ให้ทาง SMS ไลน์ หรืออีเมล ด้วยการหลอกล่อวิธีต่าง ๆ เช่น หลอกให้เงินกู้ หลอกให้กรอกข้อมูลลงทะเบียนเพื่อรับรางวัล หรืออ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เหยื่อติดตั้งแอปฯ
เมื่อแอปฯ ถูกติดตั้งในเครื่องแล้ว มัลแวร์ก็จะเริ่มทำงานด้วยการจำลองเป็นแอปฯ ธนาคารปลอม หลอกให้เหยื่อกรอกชื่อและรหัสผ่าน พร้อมทั้งดักจับรหัสผ่านชั่วคราวหรือ OTP ที่ส่งมาทาง SMS แล้วส่งข้อมูลทั้งหมดกลับไปให้มิจฉาชีพ ซึ่งจะทำให้มิจฉาชีพสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ และโอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อไปได้
นอกจากนี้ยังมีแอปฯ ประเภท Remote Access ที่หากติดตั้งแล้วจะทำให้มิจฉาชีพสามารถเข้าถึงข้อมูลและควบคุมโทรศัพท์มือถือของเหยื่อเพื่อทำธุรกรรมและโอนเงินออกจากบัญชีได้ โดยจะหลอกให้เหยื่อกรอกตัวเลข หรือรหัสผ่าน แล้วจึงนำรหัสเหล่านี้ไปใช้ทำธุรกรรมและโอนเงินออกจากบัญชี
รายชื่อแอปฯ ดูดเงิน ที่ต้องระวัง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้รวบรวมรายชื่อ 203 แอปพลิเคชั่นอันตราย อัปเดตปี 2022 ซึ่งหากใครพบเห็นในเครื่องแนะนำให้ลบทิ้งทันที ดังนี้

ภาพจาก : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ภาพจาก : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ภาพจาก : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ภาพจาก : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ภาพจาก : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ภาพจาก : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ภาพจาก : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ภาพจาก : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
วิธีสังเกตว่ามีแอปฯ ดูดเงินแฝงอยู่ในมือถือหรือไม่
ถ้าหากในมือถือมีแอปฯ ดูดเงินแฝงอยู่ เราจะมีวิธีสังเกตได้หลายอย่าง ได้แก่
- แอปฯ ต่าง ๆ อาจค้างหรือหยุดทำงานแบบไม่มีเหตุผล
- เครื่องมีอาการช้าและอืดกว่าเดิมมาก
- แบตเตอรี่หมดเร็วกว่าปกติ เพราะแอปฯ ดูดเงินจะใช้ทรัพยากรในเครื่องหนักขึ้น เป็นต้น

ภาพจาก : กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. – CCIB
- กดเลือกที่เมนูการตั้งค่า (รูปฟันเฟือง) แล้วเลือก “แอพ”
- กดที่จุด 3 จุด มุมขวาบน เลือกเมนูย่อย “การเข้าถึงพิเศษ”
หากไม่สามารถเปิดดูเมนูดังกล่าวได้ หน้าจอเด้งออกไปที่หน้าหลักทันที แสดงว่ามือถือเครื่องนั้นถูกฝังแอปฯ รีโมตดูดเงินเรียบร้อยแล้ว ให้รีบตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทันที แล้วสำรองข้อมูลที่สำคัญ จากนั้นล้างเครื่อง โดยรีเซตเครื่องกลับสู่ค่าเริ่มต้นที่มาจากโรงงาน
วิธีป้องกันแอปฯ ดูดเงิน ทำยังไงได้บ้าง
1. ไม่โหลดแอปฯ นอก Store ทางการ
2. ไม่โหลดแอปฯ ที่ไม่น่าเชื่อถือ
3. สังเกตที่มาของข้อความที่ได้รับ
4. ระวังก่อนกรอกข้อมูลสำคัญ
5. ไม่ใช้ Wi-Fi สาธารณะ
6. ควรใช้สายชาร์จมือถือของตัวเอง
7. ใช้มือถือ 2 เครื่อง
อีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจคือ การใช้โทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง
- เครื่องหลักจะเอาไว้ใช้งานทั่วไป เช่น คุยโทรศัพท์ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เล่นเกม และรับรหัส OTP
- เครื่องที่ 2 ใช้สำหรับติดตั้งแอปฯ ธนาคารโดยเฉพาะ ไม่ติดตั้งแอปฯ อื่น ปิดอินเทอร์เน็ตเมื่อไม่ใช้งาน จะเปิดใช้ก็ต่อเมื่อต้องการทำธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น และให้ใช้เบอร์โทร. ของเครื่องหลักเป็นเบอร์ที่รับรหัส OTP
8. หากพบแอปฯ ดูดเงินในเครื่อง ให้รีบเปลี่ยนรหัส
วิธีลดความเสียหาย จากแอปฯ ดูดเงิน
1. ไม่ฝากเงินจำนวนมาก ๆ ไว้ใน Mobile Banking
2. จำกัดวงเงินเบิกถอนต่อวัน
3. กระจายเงินไว้หลาย ๆ แห่ง ที่ไม่ได้ผูกแอปฯ ธนาคาร
4. ไม่ใช้รหัส หรือ PIN เดียวกันกับทุกแอปฯ
ถ้ากำลังถูกดูดเงินต้องทำยังไง
ในกรณีที่รู้ตัวว่ากำลังถูกดูดเงิน เช่น พบว่ามือถือค้างทำอะไรไม่ได้ แล้วเห็นมิจฉาชีพกำลังควบคุมมือถือหรือโอนเงินออกจากบัญชี ซึ่งไม่สามารถปิดเครื่องหรือทำอะไรได้เลย แนะนำให้ตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยปิดเราเตอร์หรือตัวปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ในบ้าน และถอดซิมออก เมื่อมือถือขาดการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต มิจฉาชีพก็จะไม่สามารถทำธุรกรรมใด ๆ ได้
ส่วนกรณีที่ถูกดูดเงินไปแล้วแต่เพิ่งรู้ตัวในภายหลัง ให้ค้นหาแอปฯ ดูดเงินในเครื่องแล้วลบทิ้ง รวบรวมหลักฐานการโอนหรือทำธุรกรรมเอาไว้ พร้อมทั้งติดต่อธนาคารเพื่ออายัดบัตรเครดิต บัญชีธนาคาร และแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือแจ้งความออนไลน์ ที่เว็บไซต์ thaipoliceonline.com เพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป และหากต้องการใช้มือถือเครื่องนั้นต่อ อย่าลืมทำการรีเซตตั้งคืนค่าโรงงาน (Factory Reset) ด้วย